วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

“เปลี่ยน...เพื่อสิ่งที่ดีขึ้น” กับ Core Banking ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) (Government Housing Bank) เป็นรัฐวิสาหกิจ และเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจในสังกัดกระทรวงการคลังจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2496 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีธนาคารอาคารสงเคราะห์ขึ้น เพื่อช่วยเหลือทางการเงินให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยตามควรแก่อัตภาพจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496“ ขึ้นและได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2496 โดยมีจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทำหน้าที่ช่วยเหลือทางการเงินให้กับประชาชน ได้มีที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่อัตภาพ โดยการให้กู้ยืมเงิน และ จัดสรรที่ดินเพื่อก่อสร้างที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ประกอบธุรกิจในการส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชนนำเงินไป ลงทุนเกี่ยวกับการสร้างอาคารและที่ดินโดยตรงทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางในการนำเงินไปใช้ประโยชน์ ใน กิจการเคหะและเป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยัง ร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐต่างๆ สนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่เป็นของตนเอง อาทิ ให้สินเชื่อกับผู้ที่ซื้อบ้านกับการเคหะแห่งชาติ สินเชื่อกับผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้สมาชิกกู้เงินเพื่ออสังหาริมทรัพทย์ ความช่วยเหลือด้านการมีบ้าน
และปีนี้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จะเปิดให้บริการเป็นปีที่ 58 แต่ความเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างได้เกิดขึ้นในช่วงเกือบ 8 ปีที่ผ่านมานี้เอง เรียกได้ว่า ตั้งแต่ ขรรค์ ประจวบเหมาะ เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการก็ว่าได้
จุดเริ่มแรกของการเปลี่ยนแปลง ธอส. เริ่มขึ้นในปีสมัยแรกของนายขรรค์ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของ ธอส. ก่อนหน้าที่ขรรค์จะเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของ ธอส. องค์กรแห่งนี้มียอดปล่อยสินเชื่อประมาณ 3 หมื่นล้านต่อปี หลังจากที่เขาได้ปรับเปลี่ยนวิธีคิดของทีมผู้บริหารและพนักงานแล้ว ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ยอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นเป็น 4 หมื่นล้านบาทต่อปี และขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ ธอส. มีกำไรเพิ่มขึ้นด้วย
ต่อมาในปี 2549 สมัยที่ 2 ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธอส. ขรรค์ดำเนินการทุกอย่างผ่านแนวคิด ธนาคารทันสมัยเพื่อที่อยู่อาศัยครบวงจร ถือเป็นช่วงที่ 2 ของการเปลี่ยนแปลงขององค์กรแห่งนี้
ที่เป็นรูปธรรมคือในปี 2550 ซึ่ง ธอส. ได้ปรับการบริหารจัดการให้มีความทันสมัย ภายใต้แนวคิด เปลี่ยน...เพื่อสิ่งที่ดีขึ้นโดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งภายใน และภายนอกองค์กร
ในส่วนของภายใน เป็นที่ทราบกันดีว่า ระบบธุรกิจธนาคารประกอบด้วย 3 ส่วน คือ Front Office ที่มีหน้าที่ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง Middle Office มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการอนุมัติสินเชื่อ และ Back Office ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับบัญชี โดย ธอส. ได้นำระบบ Core Banking มาใช้ในการบริหารจัดการ ขณะเดียวกันก็เร่งพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นนักการตลาดเพื่อรองรับการแข่งขันที่ถาโถม เนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งก็ให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกัน
พนักงานที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะในส่วนของ Middle Office ก็จะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี เราก็ให้พนักงานเหล่านี้ได้เรียนรู้ในเรื่องของการเป็นนักการตลาด ทำให้ Front Office มีจำนวนมากขึ้น เมื่อมีนักการตลาดมากขึ้น พร้อมกับมีระบบออนไลน์ที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว ก็สามารถบริการลูกค้าได้เพิ่มขึ้น รายได้จากดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้น ผลตอบแทนของพนักงานก็ดีขึ้น ทำให้เขาตั้งใจทำงาน เข้าใจว่า เพราะอะไรจึงต้องเปลี่ยนแปลง และจะได้อะไรจากการเป็นนักการตลาด
การนำระบบ Core Banking มาใช้ ทำให้เกิดการบริหารจัดการที่เรียกว่า Hub & Spokes ซึ่งผู้จัดการสาขาจะไม่มีหน้าที่อนุมัติสินเชื่อเหมือนกับในอดีต แต่จะทำงานเชิงรุก มีหน้าที่ออกไปพบลูกค้าเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ จากนั้นจึงส่งข้อมูลกลับมายังสาขาที่เป็น Hub และเข้าสู่ Credit Processing Center เพื่อประมวลผล จากนั้นระบบก็จะแจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อไปยังลูกค้าผ่าน SMS
ข้อดีของการบริหารจัดการในลักษณะนี้คือ ทำให้ Spokes ที่หมายถึงสาขา สามารถติดต่อกับ Hub ได้เร็วกว่าติดต่อกับสำนักงานใหญ่ การดูแลจึงทำได้ง่าย สะดวก และทั่วถึง ที่สำคัญยังทำให้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อมีมาตรฐาน เพราะกระบวนการจะทำโดย Credit Scoring หนึ่งในระบบของ Core Banking และยังมีการตรวจสอบการทำงานแบบ Check and Balance”
นอกจากนี้ ธอส. ยังได้ปรับภาพลักษณ์ของสาขาให้มีความทันสมัย ตามแนวคิด เปลี่ยน...เพื่อสิ่งที่ดีขึ้น จากที่เคยแบ่งพื้นที่ใช้สอยให้กับพนักงาน 70% ลูกค้า 30% ก็เปลี่ยนมาเป็นลูกค้า 70% ส่วนอีก 30% เป็นพื้นที่ของพนักงาน ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้การบริการกับลูกค้าแต่ละรายมีความสะดวกและเป็นส่วนตัวมากขึ้น พร้อมกับติดตั้งจอแอลซีดีเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไปยังผู้ที่มาใช้บริการ สร้างความรู้สึกที่ไม่แตกต่างกับกำลังใช้บริการของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
และที่กล่าวมาทั้งหมดคือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญตลอดระยะเวลาเกือบ 8 ปีที่ ขรรค์ ประจวบเหมาะ ได้เข้ามาเป็นผู้นำทางให้กับองค์กรแห่งนี้ ซึ่งแน่นอนว่า ทุกๆ ก้าวล้วนเป็นการวางโครงสร้างทางธุรกิจอย่างยั่งยืนให้กับองค์กรในอนาคต
ต่อจากนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้า Core Banking System (CBS) หรือระบบหลักการธนาคารว่ามันคืออะไร และมีหลักการการทำงานอย่างไร
ระบบหลักการธนาคาร หรือ Core Banking System (CBS) คือระบบที่อยู่เบื้องหลังการให้บริการของธุรกิจธนาคาร โดยทำหน้าที่จัดการข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเงินฝาก สินเชื่อ รวมทั้งบริการโอนเงิน และรับชำระเงิน
CBS จะเป็นเครื่องมือทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งจะดึงเอาความสามารถและศักยภาพของธนาคารเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสู่ตลาดและตอบสนองความต้องการของลูกค้า ระบบ CBS เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลที่ช่วยวิเคราะห์ผลงานที่มีประสิทธิภาพตลอดจนสร้างข้อมูลรายงานที่มีคุณภาพสำหรับผู้บริหารในอันที่จะตัดสินใจในเชิงธุรกิจได้ทันเหตุการณ์และสภาพเวลาที่เหมาะสม
ซึ่งปัจจุบันก็มีบริษัทผู้ผลิตแบะออกแบบระบบดังกล่าวที่เป็นที่ยอมรับจากสถาบันการเงินหลายแห่ง โดยแต่ละบริษัทผู้ผลิตและออกแบบก็จะมีความคุณสมบัติโดดเด่นแตกต่างกันออกไปและนี้คือคุณสมบัติโดยรวมๆของ Core Banking System (CBS)
Online Real-Time
ประมวลข้อมูลแบบออนไลน์ เรียลไทม์ อย่างแท้จริง โครงสร้างของระบบที่รองรับการปรับยอดบัญชีเป็นปัจจุบันในทันที โดยธนาคารไม่จำเป็นต้องปิดระบบเมื่อสิ้นวัน เพื่อประมวลผลข้อมูล จะช่วยให้ธนาคารมีความพร้อมในการให้บริการผ่านทุกช่องทางสื่อสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง
Customer Centric
ฐานข้อมูลที่ยึดตัวลูกค้าเป็นศูนย์กลาง แตกต่างจากการยึดเลขที่บัญชีในอดีต โดย จะผูกรวมบัญชีทุกประเภททั้งเงินฝากและสินเชื่อของลูกค้าไม่ว่าจะเปิดบัญชีที่สาขาไหนตาม ไว้บนฐานข้อมูลเดียวกัน
Electronic Manufacturing
ภายใต้หลักการ Electronic Manufacturing ระบบจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนโรงงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านเงินฝากและสินเชื่อเพื่อ รองรับความต้องการที่แตกต่างกันไปของลูกค้าแต่ละราย โดยลูกค้าสามารถกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ได้ด้วยตนเอง อาทิ ระยะเวลาที่ต้องการฝาก/ผ่อนชำระ วงเงินที่ต้องการฝาก/ผ่อนชำระ และรูปแบบการฝาก/ผ่อนชำระ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การธนาคารสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านเงินฝากและสินเชื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ช่วยสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน แม้กระทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าแต่ละรายในรูปแบบ One-to-one segmentation

ที่มา
http://www.ghb.co.th/th/
th.wikipedia.org/wiki/ธนาคารอาคารสงเคราะห์
http://www.tnis.com
http://www.marketeer.co.th

http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=
71848

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น